แบบสอบถามความคิดเห็น


วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ประวัติตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2452 โดยท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ทรงสิ้นพระชนม์ก่อน ต่อมาตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2455 และเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ ตึกหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และพระองค์ได้มอบตึกหลังนี้ให้แก่ทางราชการ ในปี พ.ศ. 2482 และได้กลายเป็นตึกผู้ป่วยที่สวยงามที่สุดจนถึงปี พ.ศ. 2512 ในสมัยนายแพทย์สุจินต์ พลานุกูล ได้ทำการบูรณะและจะเปิดใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น ต่อมาได้มีการบูรณะตึกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 โดยงบประมาณของจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2.5 ล้านบาท และคุณป้าจรวย ประสมสน บริจาคสมทบอีก 100,000 บาท เพื่อจัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร



ประวัติเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ( ชุ่ม อภัยวงศ์ ) (พ.ศ.2404 - 2465)

ประวัติเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ( ชุ่ม อภัยวงศ์ ) (พ.ศ.2404 - 2465)
ต้นตระกูลอภัยวงศ์นั้นคือ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ซึ่งในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รับราชการอยู่ที่กัมพูชา เพราะขณะนั้นเกิดการจลาจลเหลือแต่นักองค์เอง ซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่ เมื่อนักองค์เองเติบใหญ่ได้พระราชทานภิเษกให้ปกครองกัมพูชา และทรงมีพระราชดำรัสขอเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ครอบครองตรงต่อกรุงเทพฯตั้งแต่ พ.ศ.2337 เพื่อเป็นบำเหน็จแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ที่ปกครองกัมพูชาโดยเรียบร้อยมาถึง 12 ปี
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ( ชุ่ม อภัยวงศ์ ) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2404 ที่ จังหวัดพระตะบอง เป็นบุตรเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ ( เยีย) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองและท่านผู้หญิงทิม เมื่อเจริญวัยมีอายุสมควรเข้ารับราชการได้ บิดาจึงได้นำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษอยู่มณฑลกรุงเทพ ฯ ในสมัย

รัชกาลที่ 5 ได้ ไปฝึกหัดราชการในสำนักสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และในราชสำนักท่านมีความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างยิ่ง ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็น พระอภัยพิทักษ์ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองพระตะบอง จากนั้นจึงได้ออกไปรับราชการกับบิดา
ปี พ.ศ. 2435 บิดาถึงแก่อสัญกรรม ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เลื่อนเป็น พระอภัยพิทักษ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยราชการเมืองพระตะบอง ปี พ.ศ. 2439 โปรดเกล้า ฯ ให้รวมหัวเมือง พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และพนมศก เข้าเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลบูรพา
ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ( ชุ่ม อภัยวงศ์ ) มีความแตกต่างจากบรรพบุรุษ เนื่องจากได้เข้ามาศึกษาในมณฑลกรุงเทพ ฯ จึงเป็นที่คุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมประเพณีของสยามและนโยบายของรัชกาลที่ 5 เจ้าพระยาอภัยภูเบศรรับราชการด้วยความสามารถ ฉลาด รู้ทางได้ทางเสีย ปฏิบัติราชการมิได้บกพร่อง ในปี พ.ศ. 2446 จึง โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นผู้สำเร็จราชการ มณฑลบูรพาและให้ว่าราชการเมืองพระตะบอง ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เลื่อนเป็นพระยาคทาธรธรณินทร์
ปี พ.ศ. 2449 เกิดการผันแปรทางการเมืองระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีน ของฝรั่งเศส ซึ่งกัมพูชา ตกไปอยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ขอเปลี่ยนแผ่นดินเมืองตราด ซึ่งอยู่ภายใต้ความครอบครอง ของมณฑลบูรพาทั้งหมดของไทย รัฐบาลไทยจึงได้ตกลงสัญญา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2447 และแลกเปลี่ยนสัตยาบรรณสัญญาระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2450 ต่อ มาเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ขอพระ ราชทานราชานุญาต อพยพเข้ามารับราชการสนองพระเดชพระคุณในกรุงเทพฯ ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงได้อพยพครอบครัวและผู้ติดตามเข้ามาอยู่ในประเทศไทยที่เมืองปราจีนบุรี
ปี พ.ศ. 2452 ท่าน เจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้สร้างตึกใหญ่โตงดงาม โดยมีเจตนารมณ์เพื่อจะกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับแรม แต่ไม่ทันเพราะทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จ พระมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6 ) ได้เสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรี เจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสใช้ตึกหลังนี้เป็นที่ รับเสด็จได้อย่างเรียบร้อยและสมพระเกียรติ
ตึกหลังนี้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2452 โดยบริษัท โฮวาร์ด เออร์สกิน ซึ่งเป็นแบบเดียวกัน กับตึกของ ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่พระตะบอง นอกจากใช้รับเสด็จรัชกาลที่ 6 แล้ว ยังได้ใช้ รับเสด็จ เชื้อพระวงศ์ ในสมัยต่าง ๆ รวมถึงการรับเสด็จ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ครั้งเสด็จประพาสจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรไม่เคยใช้ตึกหลังนี้เป็นที่พักส่วนตัวของท่าน แต่อย่างใด เมื่อท่านอสัญกรรม จึงได้ใช้ตึกหลังนี้ตั้งบำเพ็ญกุศลศพเป็นครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมาหลายปี จนถึง วันที่ 27 สิงหาคม 2465 ถึงแก่อสัญกรรม หลังจากที่ท่านอสัญกรรม พระยาอภัยวงศ์วรเศรษฐ ( ช่วง อภัยวงศ์ ) บุตรชายที่เกิดจาก หม่อมสอิ้ง ซึ่งเป็นบุตร วัยอาวุโสกว่าคนอื่นได้รับพินัยกรรมให้เป็น ผู้จัดการมรดกต่อมาปี พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี ซึ่งเป็น ธิดาของพระยาอภัยภูเบศร ( เลื่อม อภัยวงศ์ ) ซึ่งเป็นพี่ชายของพระยาอภัยวงศ์วรเศรษฐ ( ช่วง อภัยวงศ์ ) จึงได้ถวายตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและสิ่งปลูกสร้าง ให้แด่ พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี และพระนางเจ้า ฯ ได้น้อมเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมา พระองค์ได้ทรงมอบตึกหลังนี้ คืนให้กับ พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี หลายปีต่อมาพระนางเจ้า ฯ ได้ทรงมอบตึกหลังนี้ให้กับรัฐบาลเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาลและประโยชน์ต่อส่วนรวม
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปิดทำการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 จัดเป็น 1 ใน 19 โรงพยาบาลประจำจังหวัด ยุคแรกของประเทศไทย เดิมใช้ชื่อว่าโรงพยาบาลปราจีนบุรี ต่อมาได้มีการเปลี่ยนเป็น "โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2509 เนื่อง จากหอผู้ป่วยหลังแรก คือตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้น สร้างโดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ตึกนั้นมีคุณค่าทั้งความงามด้านสถาปัตยกรรม และทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันตึกหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย
ยุคแรก : แต่เดิมตั้งแต่ก่อตั้ง ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรใช้เป็นสถานที่ รับคนไข้ จนถึงปี 2540 ได้มีการปรับปรุงแก้ไข
ยุคที่สอง : ในปี 2540 - 2541 ประเทศ ไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโรงพยาบาลจึงได้นำภูมิปัญญาที่เก็บรวบรวมไว้และสมุนไพร จากชุมชนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยเศรษฐกิจชุมชนโดยขยายผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากที่มีเฉพาะยาให้ครอบคลุม ถึงอาหารเสริม เครื่องสำอางค์ และเครื่องดื่ม จากการพัฒนาสมุนไพรของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้จุดประกายให้ผู้คนในสังคมเห็นคุณค่าของการพัฒนาสมุนไพร บนพื้นฐานภูมิปัญญา และวิชาการสมัยใหม่
ยุคที่สาม : จากการพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง การควบคุมคุณภาพโดยยึดมาตรฐานสากลเป็นแนวทางการพัฒนาทำให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อภัยภูเบศรได้รับความสนใจจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องแต่จากกฎระเบียบทาง ราชการทำให้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรไม่สามารถขึ้นทะเบียนตำรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้จึงได้จัดตั้งมูลนิธิฯขึ้นโดยแบ่งภาระกิจกรรม หลักของมูลนิธิฯเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่ายกิจกรรมของโรงพยาบาลและฝ่ายพัฒนาภูมิปัญญาไทยโดยฝ่ายพัฒนาภูมิปัญญาไทยมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งรวมการวิจัยและพัฒนาด้านโรงงานผลิตและด้านการตลาดโดย รายได้ร้อยละ70 มอบเป็นค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลอีกร้อยละ 30 นำมาพัฒนาสมุนไพรและทำประโยชน์ให้สังคม
ปัจจุบัน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ มีขีดความสามารถในการให้การบริการทางการแพทย์ในระดับสูง คือ ระดับทุติยภูมิ เช่น เดียวกับโรงพยาบาลศูนย์ทั่ว ๆ ไป แต่สิ่งที่โรงพยาบาลแห่งนี้แตกต่างจากโรงพยาบาลศูนย์ที่อื่น ๆ ในประเทศนั้น คือ มีการผสมผสานการใช้สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาล รวมทั้งเพื่อพัฒนาเป็นเศรษฐกิจของชุมชนและออกสู่ตลาดโลก

วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์,ปราจีนบุรี

วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์,ปราจีนบุรี
คำขวัญของจังหวัดปราจีนบุรีกล่าวไว้ว่า “ศรีมหาโพธิคู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี ข้อความในคำขวัญ บ่งบอกถึงสิ่งสำคัญ ซึ่งเป็นจุดเด่นของจังหวัดปราจีนบุรี หนึ่งในนั้นคือศรีมหาโพธิ

     
 “ศรีมหาโพธิ คืออะไร ? คงเป็นคำถามในใจหลาย ๆ ท่าน ที่ต้องการคำตอบ และมีความสำคัญอย่างไร ? ก็คงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ ท่านอยากจะรู้ ดังนั้นในวันนี้ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบของทุกคำถามที่เกี่ยวข้องกับ ศรีมหาโพธิกันเลย
     ศรีมหาโพธิหรือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ นั้น เชื่อกันว่าเป็นหน่อจากต้นโพธิ์ตรัสรู้ ถูกอัญเชิญมาในยุคสมัยทวารวดีเมื่อประมาณพันกว่าปีก่อน จึงเป็นต้นโพธิ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย  ปัจจุบันต้นศรีมหาโพธิ์นี้เจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ (สูงประมาณ 30 เมตร ขนาดรอบลำต้นวัดได้ประมาณ 25 เมตร) เป็นที่สนใจของเหล่านักท่องเที่ยวที่ดั้นด้นเดินทางมาเยี่ยมชมกราบสักการะสักครั้งหนึ่ง

     ต้นศรีมหาโพธิ์นั้น อยู่ภายในวัดพระศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี เดิมต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นเคยอยู่ในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ แต่หลังจากได้แบ่งพื้นที่อำเภอใหม่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นก็ถูกจัดให้ไปอยู่ในเขตพื้นที่ของ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

     ความสำคัญของต้นศรีมหาโพธิ์นี้ เห็นได้เด่นชัดในสมัยโบราณ ในฐานะของสัญลักษณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา


     "หลวงพ่อทวารวดี" เป็นพระพุทธรูปสำคัญของ อ.ศรีมโหสถได้ถูกขุดพบขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยผู้ป่วยในนิคมโรคเรื้อนของโรงพยาบาล ซานคามิลโลซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านโคกวัด อ.โคกปีบ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ศรีมโหสถ) จ.ปราจีนบุรี ขณะกำลังพรวนดินเพื่อปรับปรุงพื้นที่ทำการเกษตร หลวงพ่อทวารวดีที่พบเป็นพระพุทธรูปศิลาจำหลัก (เนื้อหินเป็นสีเขียว) สูงประมาณ 1.63 เมตร
     หลวงพ่อทวารวดี ลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน พระบาททั้งคู่ประทับบนดอกบัว เรียกปางยืนแสดงธรรม บางครั้งเรียก ปางประทานธรรม หรือปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ มีพุทธลักษณะงดงาม พระพักตร์แบน ริมฝีปากแบะ คิ้วต่อกันเป็นรูปปีกกา เม็ดพระศกใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าฝีมือช่างสมัยทวารวดีรุ่นแรก ๆ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-13 โดยมีพระพุทธรูปที่ค้นพบในเมืองโบราณยุคเดียวกันนี้ได้แก่ เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม


รพ.เจ้าพระยา