คำขวัญของจังหวัดปราจีนบุรีกล่าวไว้ว่า “ศรีมหาโพธิคู่บ้าน
ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี” ข้อความในคำขวัญ บ่งบอกถึงสิ่งสำคัญ
ซึ่งเป็นจุดเด่นของจังหวัดปราจีนบุรี หนึ่งในนั้นคือ“ศรีมหาโพธิ”
“ศรีมหาโพธิ” คืออะไร ? คงเป็นคำถามในใจหลาย ๆ ท่าน ที่ต้องการคำตอบ และมีความสำคัญอย่างไร ? ก็คงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ ท่านอยากจะรู้ ดังนั้นในวันนี้ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบของทุกคำถามที่เกี่ยวข้องกับ “ศรีมหาโพธิ” กันเลย
“ศรีมหาโพธิ” หรือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ นั้น
เชื่อกันว่าเป็นหน่อจากต้นโพธิ์ตรัสรู้
ถูกอัญเชิญมาในยุคสมัยทวารวดีเมื่อประมาณพันกว่าปีก่อน
จึงเป็นต้นโพธิ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
ปัจจุบันต้นศรีมหาโพธิ์นี้เจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ (สูงประมาณ 30 เมตร ขนาดรอบลำต้นวัดได้ประมาณ 25 เมตร) เป็นที่สนใจของเหล่านักท่องเที่ยวที่ดั้นด้นเดินทางมาเยี่ยมชมกราบสักการะสักครั้งหนึ่ง“ศรีมหาโพธิ” คืออะไร ? คงเป็นคำถามในใจหลาย ๆ ท่าน ที่ต้องการคำตอบ และมีความสำคัญอย่างไร ? ก็คงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ ท่านอยากจะรู้ ดังนั้นในวันนี้ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบของทุกคำถามที่เกี่ยวข้องกับ “ศรีมหาโพธิ” กันเลย
ต้นศรีมหาโพธิ์นั้น
อยู่ภายในวัดพระศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี
เดิมต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นเคยอยู่ในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ
แต่หลังจากได้แบ่งพื้นที่อำเภอใหม่
ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นก็ถูกจัดให้ไปอยู่ในเขตพื้นที่ของ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
ความสำคัญของต้นศรีมหาโพธิ์นี้ เห็นได้เด่นชัดในสมัยโบราณ ในฐานะของสัญลักษณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของต้นศรีมหาโพธิ์นี้ เห็นได้เด่นชัดในสมัยโบราณ ในฐานะของสัญลักษณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา
"หลวงพ่อทวารวดี" เป็นพระพุทธรูปสำคัญของ
อ.ศรีมโหสถได้ถูกขุดพบขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยผู้ป่วยในนิคมโรคเรื้อนของโรงพยาบาล
“ซานคามิลโล” ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านโคกวัด
อ.โคกปีบ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ศรีมโหสถ) จ.ปราจีนบุรี
ขณะกำลังพรวนดินเพื่อปรับปรุงพื้นที่ทำการเกษตร หลวงพ่อทวารวดีที่พบเป็นพระพุทธรูปศิลาจำหลัก (เนื้อหินเป็นสีเขียว) สูงประมาณ 1.63 เมตร
หลวงพ่อทวารวดี
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน พระบาททั้งคู่ประทับบนดอกบัว เรียกปางยืนแสดงธรรม
บางครั้งเรียก ปางประทานธรรม หรือปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ มีพุทธลักษณะงดงาม
พระพักตร์แบน ริมฝีปากแบะ คิ้วต่อกันเป็นรูปปีกกา เม็ดพระศกใหญ่
ซึ่งเป็นลักษณะของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าฝีมือช่างสมัยทวารวดีรุ่นแรก
ๆ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-13 โดยมีพระพุทธรูปที่ค้นพบในเมืองโบราณยุคเดียวกันนี้ได้แก่
เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม